10 ส.ค. 2021 ::
นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนการยกระดับเมืองน่านให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ ณ ห้องประชุมเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ศาลากลางจังหวัดน่าน โดยผู้เข้าประชุมส่วนหนึ่งผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิก์ Zoom Meeting
ดร.ชุมพล มุสิกานนท์ รองผู้อำนวยการองค์การบริหารพื้นที่พิเศษ ได้แจ้งนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนเมืองในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนน สู่การเป็นสมาชิเครือข่ายเมือกงสร้างสรรค์ของ UNESCO
โดยจังหวัดน่าน เมื่อปีที่แล้วได้ลงพื้นที่ทั้ง 15 อำเภอ จัดประกวดตราสัญลักษณ์หรือโลโก้ มีการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ 2 ครั้ง เพื่อหารือ เตรียมความพร้อมสมัครสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ จัดงานศิลปหัตถกรรมเมืองน่านเมืองสร้างสรรค์ ร่วมประชุมนานาชาติเชียงใหม่ เครือขายเมืองสร้างสรรค์ จัดงานต่อล้อต่อเสียง เถียงกันด้วยดนตรี มีศิลปินนานาชาติมาร่วมแสดง และนำเครื่องดนตรีพื้นบ้านของแต่ละคนมาเล่น มีการสาธิตและทำเวอร์คชอป ศิลปะต่างๆ จัดพื้นที่สร้างสรรค์ บริเวณกำแพงเมือง คูเมืองเก่าน่าน จัดทำกิจกรรมท่องเที่ยวเมืองสร้างสรรค์ ออกร้านในงานประจำปีของดีเมืองน่าน นำความรู้ไปเผยแพร่ในงาน มีการจัดประชุมสัมมนาเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกในไทยและต่างประเทศ
ผลการจัดทำใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ได้จัดทำใบสมัครโดยคณะทำงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประชุมแก้ไขโดยได้จัดสร้างใบสมัครที่ลงนามโดยยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่านไปยังสำนักงานความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการครั้งแรก อย่างไรก็ตามจังหวัดน่านยังไม่ผ่านเกณฑ์ในรอบปี 2564 ซึ่งยังขาดข้อมูลสนับสนุนบางประเด็นที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การเสนอเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO โดยกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดจุดเน้นให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ขององค์การยูเนสโก ประกอบด้วย นโยบายและความมุ่งมั่นของเมือง ความชัดเจนของเนื้อหาในสาขาที่สมัคร การมีกลไกและการบริหารจัดการเพื่อแสดงถึงการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ เมืองเป็นที่รู้จักของนานาชาติ โครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งความพร้อมของการรับเป็นเจ้าภาพจัดงานระดับนานาชาติ สถาบันการศึกษาที่จะเชื่อมโยงในการสืบทอด ความสมบูรณ์ของใบสมัครที่เสนอ
ที่ประชุมมีมติเตรียมส่งใบสมัครเพื่อขับเคลื่อนให้จังหวัดน่านมีความพร้อมตามหลักเกณฑ์การเสนอเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO ในรอบการเปิดรับสมัครในปี 2566 ประเภทเมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ซึ่งนายสุขสันต์ เพ็งดิษฐ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารพื้นที่พิเศษ 6 กล่าวว่า ได้มีการเตรียมแผนในปี 2565 ไว้ประกอบด้วย กิจกรรม Nan Art and Crafts Festival ประจำปี 2565 การจัดประชุมเมืองเครือข่ายและเมืองที่เตรียมความพร้อมสู่การเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO ในประเทศไทย การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเยาวชนเพื่อสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative Space) สนับสนุนการเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก กิจกรรมพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านน่าน มีกิจกรรมร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA ชุมชนในตำบลเวียงสู่การเป็นย่านสร้างสรรค์ พัฒนาศักยภาพปราชญ์ ศิลปิน และครูภูมิปัญญา เพื่อยกระดับงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านจังหวัดน่านเชิงสร้างสรรค์ จัดฝึกอบรมการออกแบบการบริการและประสบการณ์ท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมการเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO และพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ "น่านเน้อเจ้า" และกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอาหาร ที่ประชุมมีมติให้คณะทำงานโครงการบริหารพื้นที่พิเศษ 6 ไปรวบรวมสรุปแผนงานขับเคลื่อน แล้วจะกลับมาประชุมใหม่ในเดือนหน้า ภายใต้แนวคิด "น่านเมืองเก่าที่มีชีวิต เศรษฐกิจสร้างสรรค์"